Special Check Up Program

ตรวจแพ้อาหารแฝง

Food Intolerance Test        

การแพ้อาหาร ก็คือ การเกิดอาการเจ็บป่วยจากการทานอาหารบางชนิดเข้าไป แล้วเกิดมีปฏิกิริยากับร่างกายจนเกิดอาการผิดปกติเกิดขึ้น ซึ่งการแพ้อาหารมีสองแบบ คือ 
.
      ?การแพ้อาหารเฉียบพลัน (Food Allergy) ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับอาหารที่แพ้ คนที่แพ้อาหารแบบเฉียบพลันจะรู้ดีว่าตัวเองแพ้อะไร เพราะกินปุ๊บก็แพ้ปั๊บ หรือเกิดอาการทันที 
      ?แพ้อาหารแอบแฝง (Food Intolerance) คือ โดยจะทำปฏิกิริยากับอาหารที่แพ้ ซึ่งจะยังไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติในทันที และอาการมักจะเกิดขึ้นหลังรับประทานอาหารที่แพ้ไป ตั้งแต่หลายชั่วโมง ไปจนถึงหลายวันได้เลยทีเดียว โดยที่เราจะไม่รู้ว่าโรคนั้นเกิดจากสาเหตุใด 

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราแพ้อาหารชนิดใดบ้าง ?
คนที่มักมีอาการป่วยบ่อยๆ หรือมีอาการผิดปกติกับร่างกายบ่อยๆ อย่านิ่งนอนใจ เดี๋ยวนี้เราสามารถตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงได้ง่ายขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ มีวิธีการหาสารก่อภูมิแพ้ ด้วยการเจาะเลือด ชนิดที่จำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด เป็นการเจาะเลือดหาค่าการแพ้สารแต่ละชนิดอย่างละเอียด ที่สำคัญสามารถตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ในอาหารได้หลายชนิด และยังครอบคลุมกลุ่มอาหารที่เรากินเป็นประจำ ทั้งผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม อาหารทะเล ผัก ผลไม้ ธัญพืช สมุนไพรและเครื่องเทศ เนื้อสัตว์ พืชตระกูลถั่ว อีกด้วย โดยผลตรวจจะทำให้ประเมินได้ว่า ผู้ป่วยนั้นแพ้สารชนิดใดบ้าง ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่ายกาย ใช้เพียงการเจาะเลือดตรวจ ไม่เสี่ยงต่อการแพ้ ใช้เลือดน้อย และที่สำคัญการตรวจแบบนี้ ยังสามารถหาสารที่ผู้ป่วยแพ้ได้อีกหลายชนิดได้อีกด้วย

ทำไมถึงต้องทดสอบแร่ธาตุ และ แร่ธาตุแต่ละตัวมีความสำคัญอย่างไร?  

แร่ธาตุ (Minerals) มีบทบาทสำคัญต่อการเผาผลาญอาหารและทุกขั้นตอนในกระบวนการต่างๆ ของการดำเนินชีวิต

สังกะสี (Zinc) มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตการเก็บรักษาและ การหลั่งของอินซูลิน และมีความจะเป็นต่อฮอร์โมน   ที่กระตุ้นการเจริญเติบโต

แมกนีเซียม ( Magnesium)  จำเป็นสำหรับการทำงานของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ผลจากกรขาดการดูแล

โพเทสเซียม ( Potassium) เป็นแร่ธาตุที่สำคัญในการลำเลียงสารอาหารเข้าไปใช้ในเซลล์ของร่างการ และการขาดโพแทสเซียมนั้นทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและ ภาวะซึมเศร้า

TRACE  ELEMENTS

การวิเคราะห์แร่ธาตุผ่านเส้นผม

การตรวจประมาณแร่ธาตุจากเส้นผมให้ผลเหมือนกันหรือไม่

การตรวจจากเลือดสามารถบ่งชี้ถึงประมาณแร่ธาตุ ณ เวลานั้น ๆ เช่น ถ้าคุณเพิ่งรบประทานกล้วย แล้วมาทำการตรวจวิเคราะห์จะพบว่าประมาณ โพแทนเซียม (K) จะสูงขึ้น (ซึ่งแท้จริงแล้วประมาณที่สะสมในร่างกายอาจจะต่ำก็เป็นได้)

แต่ถ้าเราตรวจวิเคราะห์แร่ธาตุจากเส้นผม จะสามารถบ่งชี้ถึงประมาณแค่ธาตุที่สะสมอยู่ในร่างกายของเรา ไม่ใช่แค่ช่วงเวลาที่รับประทานเพียง 1 วัน หรือ 1 อาทิตย์แต่จะบ่งบอกถึงประมาณแร่ธาตุทั้งหมดที่สะสมในร่างกายของเรา

ส่วนการตรวจวิเคราะห์จากปัสสาวะไม่ได้บ่งชี้ถึงประมาณแร่ธาตุที่สะสมในร่างกาย แต่จะบอกถึงแร่ธาตุที่กำลังถูกขับถ่ายออกจากร่างกายเพราะฉะนั้นการตรวจเลือด และปัสสาวะจะเป็นเหมือนการบ่งบอกถึงแร่ธาตุที่มีอยู่ ณ ช่วงเวลานั้นๆ แต่การวิเคราะห์จากเส้นผมจะบ่งบอกถึงแร่ธาตุที่มีการสะสมอยู่ในร่างกาย

การวิเคราะห์แร่ธาตุในเส้นผมคืออะไร

          เส้นผมของเราประกอบด้วยแร่ธาตุหลากหลายชนิด ซึ่งการตรวจแร่ธาตุจากเส้นผมสามารถบ่งชี้ถึงแร่ธาตุต่าง ๆ ที่พบในร่างกาย อาทิเช่น แร่ธาตุที่ได้รับจากอาหาร โลหะหนักต่าง ๆ เป็นต้นนอกจากนี้ยังบ่งบอกถึงประมาณแร่ธาตุที่สะสมอยู่ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงสภาวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบเผาผลาญ

( Metabolism ) หรือแม้แต่ระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายได้อีกด้วย

การตรวจประมาณแร่ธาตุจึงจำเป็นอย่างยิ่ง โดยจะสามารถบ่งชี้ได้ว่าร่างกายเรายังขาดแร่ธาตุชนิดใด และทำให้เราสามารถหาสารอาหารที่มีแร่ธาตุชนิดนั้น ๆ มาชดเชยได้

จากการวิจัยมากกว่า 30 ปี พบว่าการตรวจวิเคราะห์เส้นผมเป็นวิธีการตรวจที่ดีที่สุดที่ใช้ทดสอบปริมาณแร่ธาตุใสร่างกายเพื่อทำให้ทราบว่าร่างกายยังต้องการสารอาหารชนิดใดเพิ่มหรือควรงดสารอาหารชนิดใด เพราะฉะนั้นผลของการตรวจแร่ธาตุในเส้นผมได้ออกแบบมาเพื่อช่วยในการวางแผนการดูแลสุขภาพและโภชนาการให้เหมาะสมกับสมดุลของร่างกาย

สภาวะการเจ็บป่วยที่อาจมีผลจากสภาวะการขาดเกินของเกลือแร่ และ วิตามิน เช่น

  • อาการปวดศรีษะ
  • ภาวะภูมิแพ้
  • อาการกระสับกระส่าย
  • ภาวะหดหู่
  • ภาวะอ่อนแอทุพพลภาพ
  • การเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
  • รวมทั้งความดันโลหิตสูง

การออกแบบรายงานผล HTMA

รายงานผลการทดสอบแร่ธาตุของแต่ละบุคคล ประกอบด้วยข้อมูลที่มีความสมบูรณ์และครอบคลุมที่สุด โดยบอกทั้งประมาณและอัตราส่วนของแร่ธาตุที่สำคัญ รวมถึงรายชื่อของอาหารที่ควรรับประทานหรือหลีกเลี่ยงให้สอดคล้องกับการแพ้อาหารและความต้องการของอาหารรายบุคคล นอกจากนี้ในใบรายงานผลยังมีรายชื่อสารอาหารที่มีความจำเพาะเจาะจงสูง สำหรับช่วยในการสร้างความสมดุลทางเคมีในร่างกายอีกด้วย

การตรวจสารอนุมูลอิสระ และสารต้านอนุมูลอิสระ

(Oxidative Stress Test)

         

ทำไมเราควรตรวจหาสารอนุมูลอิสระ?

ปัจจุบันนี้มีคนพูดถึงสารอนุมูลอิสระกันมาก เพราะเจ้าสารตัวนี้อาจจะถือได้ว่าเป็นต้นตอของปัญหาที่เลวร้ายทั้งหลายภายในร่างกายคนเรา ไม่ว่าโรคหัวใจ โรคมะเร็ง ความแก่ ความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ

#สารอนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระ (Free radicals) เป็นอะตอมหรือโมเลกุล ที่มีอิเล็กตรอนไม่เป็นคู่ (Unpaired electron) อย่างน้อย 1 ตัวโคจรรอบวงนอกสุด เกิดจากกระบวนการต่างๆในการดำรงชีวิต ทั้งจากปัจจัยภายในร่างกาย เช่น การเผาผลาญอาหาร กระบวนการสร้างพลังงาน การหายใจระดับเซลล์ กลไกการป้องกันตัวเองของร่างกายจากเชื้อโรค และปัจจัยภายนอก เช่น การสูบบุหรี่ การสัมผัสกับแสงแดด การสัมผัสรังสี การรับประทานอาหารที่มีน้ำมัน อาหารปิ้ง ย่าง เผาที่ไหม้ เป็นต้น

#สารต้านอนุมูลอิสระ

ร่างกายมีการป้องกันการสะสมของอนุมูลอิสระอยู่ 2 วิธี วิธีแรก จากการที่ร่างกายมีการสร้างเอนไซม์หรือกลไก เช่น เอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant enzymes) ขึ้นมาควบคุม โดยเป็นกลไกในการเปลี่ยนอนุมูลอิสระให้กลายเป็นน้ำ วิธีที่สอง การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารที่รับประทาน เช่น วิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน แอนโทไซยานิดิน (Anthrocyanidin) สารประกอบโฟลีฟีนอล รวมถึงโคเอนไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10) เป็นต้น

ปัจจุบันสามารถตรวจหาระดับสารอนุมูลอิสระ (Free radicals) และศักยภาพของสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย (Anti-oxidants) เพื่อเป็นตัวบ่งชี้ว่าร่างกายอยู่ในสภาวะสมดุลหรือไม่ หรือเป็นตัวบ่งชี้ว่าร่างกายมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆในอนาคตหรือไม่

การตรวจที่มีความจำเพาะสูง

d-ROMs Test :

การประเมินสภาวะร่างกายที่ถูกทำลายโดยสารอนุมูลอิสระ Free radicals ตัวที่วัดคือ R-OOH (Organic hydroperoxide) การตรวจหาปริมาณของ R-OOH สามารถบ่งบอกว่าร่างกายมีภาวะถูกทำลาย และเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดการทำลายร่างกายมากขึ้นด้วย

PAT Test :

การประเมินสภาวะร่างกายที่แสดงถึงประสิทธิภาพหรือศักยภาพในการต่อต้านกับสารอนุมูลอิสระ เป็นการตรวจหา Total anti-oxidant ในร่างกาย เป็นการวัดความสามารถโดยรวมในการต้านสารอนุมูลอิสระในเลือด (The effectiveness of antioxidant barrier)

 ใครควรได้รับการตรวจ?

– กลุ่มคนสุขภาพดี

– ผู้ที่เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระ

– ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยา เช่น การรับเคมีบำบัด, การได้รับยา หรือการผ่าตัด, การปลูกถ่ายผิวหนัง, การทำบายพาสในผู้ป่วยหัวใจ รวมถึงผู้ที่ผ่านการฟอกไต

– คนไข้หรือคนปกติที่รับประทาน Antioxidant supplement เป็นประจํา

 

ควรตรวจบ่อยแค่ไหน?

– คนที่มีสุขภาพดี ควรได้รับการตรวจ ทุกๆ 6 เดือน

– คนที่มีปัญหาสุขภาพ ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

การตรวจพิเศษอื่นๆ 

สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line @ : @stemmedclinic ค่ะ