
Bipolar Disorder #ไบโพลาร์ เป็นโรคที่เกิดสารเคมีในสมองผิดปกติ ไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดู สำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีพฤติกรรมบางอย่างที่ทำให้คนรอบข้างไม่เข้าใจ ซึ่งจะมีอาการผิดปกติทางอารมณ์ 2 แบบ คือคึกคักผิดปกติ สลับกับ อารมณ์ซึมเศร้า
.
#ช่วงภาวะคึกคัก จะมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง
นอนน้อยโดยที่ไม่รู้สึกเพลีย พูดเยอะ ความคิดแล่นเร็ว
#ช่วงภาวะซึมเศร้า จะรู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้
มองทุกอย่างในแง่ลบ เก็บตัว มีความคิดอยากจะฆ่าตัวตาย
❓❓คำถามคาใจ เพื่อเข้าใจผู้ป่วยไบโพลาร์❓❓
Q : ผู้ป่วยไบโพลาร์ สามารถอยู่ร่วมกับคนทั่วไปได้ไหม?
A : คนที่มีโรคไบโพล่าร์ หรือเป็นโรคทางจิตเวชใดๆก็ตาม สามารถรักษาให้ดีขึ้นและใช้ชีวิตเป็นปกติได้
Q : หากสงสัยว่าคนใกล้ตัวเป็นไบโพลาร์? สามารถพาไปรักษาได้ที่ไหน สิทธิบัตรทองครอบคลุมหรือไม่
A : สามารถพาผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลที่มีสิทธิ 30 บาทหรือประกันสังคม หากโรงพยาบาลไม่มีจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลจะส่งตัวต่อไปยังที่โรงพยาบาลที่มี
Q : คนไข้ปฏิเสธการไปรักษาที่โรงพยาบาล ควรทำอย่างไร?
A : ส่วนใหญ่คนที่เป็นโรคจะปฏิเสธการรักษา คนใกล้ชิดอาจจะต้องสร้างแรงจูงใจในการไปพบแพทย์ ทำให้ไม่รู้สึกว่าเขาเป็นคนป่วย หรือคนใกล้ชิดสามารถสอบถาม ขอคำแนะนำได้กับทางโรงพยาบาลที่จะพาไป
Q : คนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มีโอกาสเป็นไบโพลาร์ไหม?
A : มีโอกาส แต่ในความเป็นจริง ทุกคนก็มีโอกาสเป็น ไม่ต่างจากโรคอื่นๆ แต่ผู้ป่วยบางคนจะแสดงอาการซึมเศร้าก่อน ต่อมาค่อยแสดงอาการเมเนีย การวินิจฉัยจึงเปลี่ยนจากโรคซึมเศร้า เป็นโรคไบโพลาร์
Q : ผู้ป่วยต้องกินยาตลอดชีวิต หรือไม่?
A : การรับประทานยานั้น ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ผู้ป่วยไม่ควรจะลดปริมาณยา หรือ หยุดกินยาเองโดยเข้าใจว่าอาการดีขึ้น ในผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องกินยาไปตลอดชีวิต
.
การอยู่ร่วมกับผู้ป่วยนั้น ขอให้เข้าใจว่า การกระทำ คำพูดต่างๆของผู้ป่วยที่แสดงออกมานั้น เป็นผลมาจากสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ ไม่ผ่านกระบวนการ คิด หรือ ตัดสินใจ ฉะนั้น ไม่ควรจะไปถือสา หาความ หรือเก็บเอาสิ่งเหล่านั้นมาเป็นอารมณ์
.
ข้อมูลอ้างอิง สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย