“ลิ่มเลือด” เป็นสิ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อห้ามเลือดในเนื้อเยื่อที่ฉีกขาดหรือได้รับบาดเจ็บ ทว่าลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นอาจไปอุดตันหลอดเลือดในอวัยวะต่าง ๆ อย่างแขน ขา ปอด ไต สมอง ลำไส้ หรือหัวใจ จนอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจนถึงชีวิตได้
ลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
…เมื่อเกิดแผลขึ้นตามอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เลือดที่ไหลออกมาจะสัมผัสกับสารเฉพาะที่อยู่บริเวณผิวหนังหรือผนังหลอดเลือด ซึ่งสารดังกล่าวจะกระตุ้นให้เกล็ดเลือดโดยรอบมารวมตัวกันและเปลี่ยนรูปร่างเพื่อปิดส่วนที่ฉีกขาด โดยเกล็ดเลือดที่ปิดแผลอยู่จะปล่อยสารเคมีออกมา เพื่อส่งสัญญาณให้เกล็ดเลือดและสารอื่น ๆ มารวมตัวกันในบริเวณดังกล่าวมากขึ้น
…หลังจากนั้น โปรตีนในเลือดจะแข็งตัวเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่อย่างต่อเนื่อง เพื่อสลายสารบางชนิดในเลือดให้กลายเป็นเส้นใยไฟบรินลักษณะคล้ายตาข่าย เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของเกล็ดเลือดที่รวมตัวกันอยู่ และเกล็ดเลือดที่จับกับเส้นใยไฟบรินเรียกว่า “ลิ่มเลือด”
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน
โดยปกติภาวะลิ่มเลือดอุดตันมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน มีอาการอักเสบเรื้อรัง กระดูกแขนหรือขาหัก ตับแข็ง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว หัวใจล้มเหลว มะเร็ง เป็นต้น

นอกจากปัจจัยดังกล่าว บุคคลบางกลุ่มก็อาจเสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดอุดตันมากกว่าคนทั่วไป เช่น






>> ลิ่มเลือดที่อุดตันหลอดเลือดตามอวัยวะต่าง ๆ อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ !!

ลิ่มเลือดอุดตันมีอาการอย่างไร ?
เมื่อลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด จะส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนเลือดในบริเวณที่มีการอุดตัน อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติ ดังนี้
- ลิ่มเลือดอุดตันบริเวณแขนหรือขา ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดระบม มีอาการบวมเฉพาะจุดที่ลิ่มเลือดอุดตัน บวมทั้งแขนหรือขา แขนขาเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือคล้ำลง และอาจเสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด นอกจากนั้น หญิงตั้งครรภ์ที่มีลิ่มเลือดอุดตันยังเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด การแท้งบุตร และการเสียชีวิตจากการตั้งครรภ์หรือการคลอดบุตรด้วย
- ลิ่มเลือดอุดตันบริเวณช่องท้อง มักเกิดขึ้นที่หลอดเลือดดำในลำไส้ อาจมีสาเหตุมาจากโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ โรคตับ หรือจากการรับประทานยาคุมกำเนิด ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องเสีย ปวดท้องรุนแรง อาเจียน บางครั้งอาจอาเจียนหรืออุจจาระแบบมีเลือดปน
- ลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด มักเกิดจากลิ่มเลือดที่อุดตันอยู่บริเวณแขนหรือขาหลุดไปตามกระแสเลือดและไปอุดตันที่หลอดเลือดในปอด เรียกว่า ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด โดยผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บหน้าอก หายใจถี่ หายใจลำบาก ไอเป็นเลือด เหงื่อออก เวียนศีรษะ ชีพจรเต้นเร็ว หรือหมดสติ
- ลิ่มเลือดอุดตันที่ไต ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดช่องท้อง ขา หรือต้นขาข้างใดข้างหนึ่ง ปัสสาวะมีเลือดปน มีไข้ คลื่นไส้หรืออาเจียน มีอาการบวมรุนแรงที่ขาอย่างเฉียบพลัน และหายใจลำบาก ทั้งนี้ ลิ่มเลือดที่อุดตันอาจส่งผลให้ความดันโลหิตสูงจนทำให้ของเสียและของเหลวคั่งอยู่ภายในร่างกายและเกิดไตวายได้
- ลิ่มเลือดอุดตันที่หัวใจ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บหน้าอกและอาจเจ็บลามไปถึงแขนซ้าย หายใจถี่ มีเหงื่อออกมาก คลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรือหมดสติ
- ลิ่มเลือดอุดตันที่สมอง อาจเกิดจากไขมันสะสมอยู่บริเวณผนังของหลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมอง รวมถึงอาจมีลิ่มเลือดที่อุดตันอยู่บริเวณช่องอกหรือลำคอหลุดไปตามกระแสเลือดและไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง หรือสมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตามมาได้ โดยลิ่มเลือดที่อุดตันอาจทำให้การมองเห็นภาพและการพูดผิดปกติ มีอาการชัก อ่อนแรงและชาบริเวณใบหน้า แขน ขา หรือลำตัวข้างใดข้างหนึ่ง
ยินดีให้คำปรึกษาสุขภาพ/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 



Call center : 063-3734694, 063-3734700
Line @ : https://line.me/R/ti/p/%40jft9623v