ความสมดุลระดับกรดไขมัน สำคัญอย่างไร?
♦โรคเรื้อรัง โดยส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบในร่างกาย โดยพื้นฐานแล้วกระบวนการอักเสบเป็นส่วนสำคัญต่อการทำงานภายในร่างกาย ในการตอบสนองต่อภัยอันตราย เช่น เชื้อโรค สารพิษ หรือแม้กระทั่งอาหารที่ก่อผลเสียต่อสุขภาพ การอักเสบเป็นการตอบสนองในระยะสั้นที่จำเป็นในกระบวนการฟื้นฟูร่างกาย เนื้อเยื่อ และกระบวนการมีชีวิตรอด แต่ในทางตรงกันข้าม หากการอักเสบที่เกิดขึ้นเรื้อรัง ก็อาจเกิดผลระยะยาวต่อร่างกาย
ปัจจัยสำคัญ ที่ก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง คือวิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ความเครียด ขาดการออกกำลังกาย ประกอบกับการกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ทำให้ร่างกายไม่สามารถจัดการการอักเสบให้อยู่ในระดับที่สมดุล ซึ่งระดับกรดไขมันในร่างกายมีผลต่อการอักเสบ และสุขภาพอย่างมาก โดยเฉพาะสมดุลกรดไขมัน เช่น โอเมก้า 3 และ โอเมก้า 6
โรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง เบาหวาน โรคอ้วน โรคไขข้ออักเสบ โรคภูมิแพ้ และโรคหอบหืด ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับกรดไขมันโอเมก้า 6 ที่มีในระดับสูงเกินไป ดังนั้นระดับกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่เพียงพอ และสมดุลกันกับโอเมก้า 6 จะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้

กรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA) ที่จำเป็นต่อระบบฮอร์โมน และสารสื่อประสาท และการทำงานของร่างกายในกระบวนการต่างๆ แต่หากเป็นเรื่องการอักเสบ และสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด การขาดความสมดุลของกรดไขมันทั้ง 2 กลุ่มนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าวได้
เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า 3 (EPA, DHA และ DPA) กรดไขมันกลุ่มนี้ช่วยควบคุม และลดกระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้น ในขณะที่กรดไขมันโอเมก้า 6 หากมีในปริมาณมาก จะนำไปสู่ภาวะตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน และการตอบสนองต่อการอักเสบที่มากและนานเกินไป

ความสำคัญ
- กรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง เบาหวาน โรคอ้วน โรคข้ออักเสบ ภูมิแพ้รูมาตอยด์ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ภาวะความเสื่อมตามอายุ
- การบริโภคกรดไขมันโอเมก้า 3 สามารถช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ และคอเรสเตอรอลไม่ดีในเลือด
- ค่าเฉลี่ยอัตราส่วนระหว่าโอเมก้า 6 ต่อ โอเมก้า 3 ของอาหาร มาตรฐานอยู่ระหว่าง 10 : 1 – 15 : 1 โดยขึ้นอยู่กับพื้นที่
- ความสมดุลของอัตราส่วนของโอเมก้า 6 ต่อ โอเมก้า 3 ที่ 3 : 1 หรือน้อยกว่านี้ อาจลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้
ปัจจุบัน สามารถตรวจระดับความสมดุลของระดับกรดไขมันระหว่างโอเมก้า 3 : โอเมก้า 6 ได้แล้ว
วิธีการตรวจ
ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Dry Blood Spot (DBS) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่ามีความแม่นยำสูงมากในการวิเคราะห์ผลเลือด ใช้หยดเลือดเพียงสองสามหยดจากปลายนิ้ว หยดลงบนแผ่นเก็บตัวอย่างเลือดแบบแห้ง โดยใช้เวลาเพียงไม่ถึงนาทีก็เสร็จเรียบร้อย
การตรวจให้ผลอะไรบ้าง
- วิเคราะห์ปริมาณเปอร์เซ็นต์ของกรดไขมัน 11 ชนิด ซึ่งเป็นประมาณ 98% ของกรดไขมันในเลือดในร่างกาย
- ระดับโอเมก้า 3 ทั้งหมด (Omega-3 bioavailability)
- สัดส่วนของกรดไขมันโอเมก้า 6 ต่อ โอเมก้า 3 (Omega-6 : 3 Balance)
- ความแข็งแรงทางจิตประสาท (Mental Strength)
- ค่าการไหลตัวของเซลล์เมมเบรน (Cell Membrane Fluidity)
- ดัชนีบ่งชี้การอักเสบ (AA/EPA)

