การฝังเข็ม Acupuncture

เวชกรรมฝังเข็มเป็นศาสตร์การรักษาโรคที่มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ยาวนานนับ 4,000 ปี มาแล้ว ศาสตร์วิชานี้มีกำเนิดมาจากการแพทย์แผนโบราณของจีน และได้รับการพัฒนาสืบทอดมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ปัจจุบันนี้ การรักษาโรคด้วยการฝั่งเข็มได้เป็นที่ยอมรับจากวงการแพทย์ทั่วโลกนับกว่า 140 ประเทศแล้ว
แพทย์จะให้การตรวจรักษาภายใต้ระเบียบของกระทรวงสาธรณสุข โดยได้รับการรับรองให้กระทำการดังนี้

  • การตรวจวินิจฉัยโรค ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน (ทฤษฏีหยิน-หยาง ธาตุทั้งห้าระบบเส้นลมปราณ ทฤษฎี อวัยวะ-อู่จ้างลิ่วฟู้ การตรวจและจำแนก โรค-ซือเจินป้ากาง) โดยไม่ใช้เครื่องมือใด ๆ
  • การส่งเสริมป้องันรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้วยการฝังเข็มหรือการกระตุ้นจุดแทงเข็ม โดยใช้เครื่องมือแพทย์ ได้แก่ เข็มที่ใช้สำหรับการแทงเข็มเครื่องกระตุ้นเข็มและเครื่องกระตุ้นจุดฝังเข้มอื่น ๆ ตามมาตรฐานของศาสตร์การแพทย์แผนจีน

องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ไดรับรองบทบาทของการรักษาโรคใน 5 กลุ่ม รวมมากกว่า 60 ชนิด

  • รักษาอาการปวดต่าง ๆ เช่นไมเกรน ตึงเครียด ปวดหลัง ปวดหัว เป็นต้น
  • กลุ่มโรคเกี่ยวกับเส้นประสาท เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต กระดูกทับเส้น เป็นต้น
  • โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น ข้อเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
  • ภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง autoimmune disease เช่นโรค SLE และรูมาตอยด์
  • โรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น อาการทางร่างกายที่เกิดจากจิตใจ ได้แก่ นอนไม่หลับ ใจเต้น ใจสั่น อาหารไม่ย่อยและอาการอ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ
ฝังเข็ม
acupuncture, ฝังเข็ม

การฝังเข็มสามารถรักษาโรคโดยอาศัยกลไกสำคัญดังต่อไปนี้

  • ปรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพสมดุลปกติ
  • ยับยั้งความเจ็บปวด
  • ปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  • ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีการคลายตัว
  • กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทั้งบริเวณเฉพาะที่และทั่วร่างกาย

เข็มทุกเล่มทำหน้าที่ปรับพลังงานในร่างกายให้มีความสามารถดังนี้

  • ขับของเสียได้
  • เซลล์แข็งแรงขึ้น
  • จัดระบบการทำงานของเคมีใหม่
  • จัดระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและเส้นเอ็น ให้อยู่ในตำแหนงปกติของร่างกาย

หลักการอยู่ที่การปรับสมดุลของ

*  หลักการอยู่ที่การปรับสมดุลของ อวัยวะภายในการกระตุ้นจุดผิวกาย ภายนอกผ่านเส้นเมริเดียน
*  ในการปรับสมดุลพลังงานที่จีนเรียกว่าเส้นลมปราณ Meridian ซึ่งตามปกติแล้วคนเรามีเส้นประสาทสำคัญอยู่ 12 เส้น แพทย์แผนจีนจะใช้หลักการจับชีพจร (แมะ) ในการตรวจวินิจฉัยโรค โดยวิเคราะห์อวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญ 5 อวัยวะ ได้แก่ หัวใจ ตับ ปอด ม้าม ไต ซึ่งหากตรวจพบความผิดปกติในระบบใด จะให้เข็มฝังในตำแหน่ง จุดต่าง ๆ ที่สำคัญ ซึ่งผลที่ได้จะทำให้สุขภาพร่างกาย สมบูรณ์แข็งแรงขึ้น
*  จากการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่าการกดจุดฝังเข็มมีผลช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
และมีฤทธิ์ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ นอกจานี้ยังมีผลในการควบคุการหลั่งของสารเคมี จำนวนหนึ่ง ทีเรียกว่าสารสื่อประสาท และภายหลังจากการกระตุ้นด้วยเข็มร่างกายจะสร้างสารสื่อนำประสาทชนิดต่าง ไปออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สารเอนดอร์ฟิน, ซีโรโตนีน, นอร์เอพิเนฟรีน ณ ระดับไขสันหลัง และอะเซธิลโคลีนจะช่วยระงับอาการปวดได้

ข้อปฏิบัติก่อนการรักษา

  • นอนหลับพักผ่อนมาให้เพียงพอ
  • ควรรับประทานอาหารมาพอสมควร
  • ใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ
  • ขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะมาให้เรียบร้อย
  • ผู้ป่วยตั้งครรภ์ ใส่เครื่องกระตุ้นให้จังหวะหัวใจหรือเป็นโรคที่มีเลือดออกง่าย ควรแจ้งให้เพื่อนทราบ

ข้อปฏิบัติในการรักษา

*  แพทย์จะค่าเข็มไว้ประมาณ 20-30 นาที โดยอาจจะกระตุ้นเข็มด้วยมือหรือกระแสไฟฟ้า ระหว่างปักเข็มผู้ป่วยอาจเกิดความรู้สึกได้ 2 แบบ

  • รู้สึกหนัก ๆ หน่วง ๆ ตื้นในจุดที่ทำการฝังเข็ม
  • มีความรู้สึกแล่น แปล๊บ ๆ ไปตามเส้นเนื่องจากแพทย์จะวางเข็มไว้ข้าง ๆ เส้นลมปราณ

*หากรู้สึกเจ็บมากเกินไปให้แจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบ การถอนเข็มออกเล็กน้อยหรือลดแรงกระตุ้นจะสามารถลดอาการปวดได้ทันที

การปฏิบัติหลังการรักษา

โดยทั่วไปเอาเข็มออกมักจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ นอกจากผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่อ่อนแอ อาจมีอาการอ่อนเพลียบ้างเล็กน้อย บางรายอาจมีอาการรู้สึกหนัก ๆ ตึง ๆ บริเวณจุดฝังเข็มอาจมีรอยจ้ำเขียวช้ำ เล็กน้อย ใช้ผ้าสะอาด ๆ กดไว้สัก 3-4 นาที แล้วประคบเย็นสักครู่จะช่วยได้

ควรมารับการฝังเข็มบ่อยแค่ไหน

ทั่วไปการฝังเข็มสำหรับโรคเรื้อรังต่าง ๆ ควรมารับบริการสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ติดต่อกันนาน 10-20 ครั้งแต่ในกรณีที่ฝังเข็มเพื่อการลดน้ำหนัก หรือในด้านความสวย ความงาม จะใช้เวลานานกว่านี้

ฝังเข็มบริเวณผิวศีรษะ

Scalp Accupuncture

เป็นวิธีการฝังเข็มที่ถูกพัฒนาจากทฤษฎีแพทย์จีนโบราณซึ่งจะเน้นการใช้เข็มฝังรักษาในบริเวณตำแหน่งช่องว่างระหว่างผิวหนังศีรษะกับส่วนผิวกระดูกกระโหลกศีรษะ  โดยอุปกรณ์ที่ใช้เป็นเข็มขาดเล็กและบาง ความลึกในการแทงเข็มจะตื้น0.50-0.70 มิลลิเมตรเท่านั้น ทำให้คนไข้ไม่เจ็บหรืออาจเจ็บเพียงเล็กน้อยและไม่เกิดผลข้างเคียงในการรักษา

ข้อดี

สามารถใช้รักษาได้โรคที่หลากหลาย  และใช้แพร่หลายในคนไข้ทุกช่วงอายุ  ให้ผลการรักษาที่รวดเร็ว ลดการบาดเจ็บและประหยัดเวลาในการรักษากว่าการฝังเข็มแบบทั่วไปเป็นอย่างมาก  ครอบคลุมโรคที่หลากหลาย  อาทิ โรคอายุกรรมต่างๆ  การฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ป่วยหนัก   โรคทางสูตินารี  โรคทางระบบประสาทวิทยา โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ เป็นต้น  

ฝังเข็ม

โรคหลอดเลือดสมองกับวิธีฝังเข็มบริเวณผิวศีรษะ

           หลอดเลือดสมองอุดตีบตันและเส้นเลือดสมองแตกเป็นโรคที่อันตรายและมีโอกาสเกิดซ้ำได้มากกว่าหนึ่งครั้งกับผู้ป่วย เป็นสาเหตุหลักในการเกิดโรคอัมพฤตอัมพาต  ผู้ป่วยจะมีการเคลื่อนไหวไม่ได้หรือมีเคลื่อนไหวที่ผิดปกติซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยทั้งทางกายและจิตใจ ในรายที่รุนแรงสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีฝังเข็มบริเวณผิวศีรษะนั้นสามารถทำการรักษาได้ตั้งแต่วันแรกที่เกิดอาการจนถึงระยะ6เดือนแรกการรักษาสามารถป้องกันภาวะเฉียบพลันที่มีโอกาสเกิดซ้ำกับผู้ป่วยในระยะเฝ้าระวังโรคและสามารถฟื้นฟูร่างกายหลังจากภาวะเฉียบพลันเพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ   ในผู้ป่วยที่มีอาการมากกว่า6เดือนสามารถช่วยฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยให้สามารถช่วยตัวเองในชีวิตประจำวันได้

อาการปวดกับวิธีฝังเข็มบริเวณผิวศีรษะ

                   อาการปวดบริเวณส่วนต่างๆไม่ว่าจะเป็นการปวดจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นจากการออกกำลังกาย  อาการปวดศีรษะจากปัจจัยต่างๆ  อาการปวดจากโรคออฟฟิตซินโดรม  อาการปวดจากโรคไขข้อเสื่อมหรืออักเสบ ของร่างการการฝังเข็มบริเวณผิวศีรษะร่วมด้วยการกระตุ้นด้วยกายบริหารเป็นการรักษาที่ให้ผลรวดเร็วและผลการรักษาเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในขณะที่รักษา  การฝังเข็มบริเวณผิวศีรษะนั้นไม่เจ็บและไม่เกิดผลข้างเคียงกับผู้ป่วย  จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาอาการปวดเรื้อรังที่สามารถห่างไกลการทานยาแก้ปวดต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โรคอายุรกรรมกับวิธีฝังเข็มบริเวณผิวศีรษะ

               โรคเรื้อรังที่พบบ่อยมีพื้นฐานมาจากความเสื่อมของร่างกายสามารถรักษาหรือบรรเทาอาการของโรคได้ด้วยวิธีฝังเข็มบริเวณผิวศีรษะ  อาทิโรค  ภูมิแพ้อากาศ   ภูมิแพ้ผิวหนัง  ระบบประจำเดือนผิดปกติ  ปัญหาระบบทางเดินอาหาร ท้องอืด  ท้องเฟ้อ   โรคนอนไม่หลับ ใจสั่น  อ่อนเพลีย หรือการฟื้นฟูผู้ป่วยหนักจากอาการผิดปกติต่างๆ เป็นต้น  การฝังเข็มบริเวณผิวศีรษะจะช่วยฟื้นฟูระบบการทำงานของอวัยวะภายในให้กลับมามีประสิทธิภาพและสามารถแก้ปัญหาต้นตอของอาการที่เกิดขึ้นได้จากต้นเหตุ  ทำให้ผู้ป่วยกลับมาแข็งแรงฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มการของร่างกายผู้ป่วย  โดยรักษาต่อเนื่องเป็นประจำสัปดาห์ละ2-3 ครั้ง หรือตามคำแนะนำของแพทย์

ข้อปฏิบัติในการรักษา

*  แพทย์จะค่าเข็มไว้ประมาณ 3  ชั่วโมง หรือตามความเหมาะสมในแตละบุคคล